มาลงกันที่ช่องสุดท้ายที่เป็นช่องปั้มน้ำกันเลยดีกว่า
ส่วนใหญ่แล้วบ่อรุ่นเก่าๆ จะใช้ปั้มไดโว่กำลัง watt สูงๆ เช่น 500w -700w แล้วเอามาต่อหัวเจ็ท เพื่อเป่าฟองอากาศไปพร้อมกับน้ำ วางรอบๆ บ่อให้น้ำหมุนๆๆๆๆๆ ปลาเวียนหัวกันไปเลย
การมีหัวเจ็ทยื่นเข้าไปในบ่อนั้นผมดูแล้วหวาดเสียวแทนปลาจริงๆ กลัวว่าเวลาว่ายมาใกล้ๆ กะจะมาเล่นฟองอากาศ กลับเอาหัวทิ่มโดนหัวเจ็ท ปากเจ่อ หัวบาก บาดเจ็บกลับไป กลายเป็นปลาที่มีตำหนิขึ้นมาเซ็งเป็ดเลย รู้แล้วก็รีบไปถอดออกเลยดีกว่า ก่อนที่ปลาจะเจ็บตัว
 .

ตอนนี้เรามาถึงยุคของการพัฒนาอุปกรณ์การเลี้ยงที่ทันสมัยขึ้นแล้ว ตัวเลือกก็เยอะขึ้นมากมายดีๆ ทั้งนั้น ปั้มน้ำก็มีการเปลี่ยนรูปแบบการทำงานอย่างสิ้นเชิงเหมือนกัน ไม่ต้องดัดแปลงเอาไดโว่มาใช้กันแล้ว

กลายเป็นปั้มน้ำที่ทำหน้าที่แค่ดูดน้ำในช่องสุดท้าย แล้วดันน้ำยกข้ามไปเข้าบ่อเลี้ยงเฉยๆ แต่ได้ปริมาณน้ำที่มากมายกว่าเดิม และกินไฟน้อยลงมากๆ

 

จากที่ต้องใช้กำลัง 400 w เพื่อให้ได้น้ำที่ 18,000 ลิตร/ชั่วโมง ก็กลายเป็นใช้แค่ 50 -70w ก็ได้น้ำมากมายถึง 20,000 ลิตรต่อชั่วโมงอะไรยังเงี้ย ลดค่าไฟได้มากมาย 

ผมแนะนำปั้มน้ำ HA 20 กับ HA25 ครับ ของดีราคาประหยัดน่าใช้มากครับ ทนทานใช้ได้เลย

.

หน้าตาปั้มน้ำรุ่น ATMAN HA20 กับ HA25 เหมือนกันเป๊ะ

.

แต่ถ้าจะเล่นกันแบบทนอึด ทนนาน คบกันยาวๆ ก็ต้องนี่เลยครับ ปั้ม TCP

มีหลายรุ่นหลายราคาให้เลือกมากมายครับ เข้าไปดูรายละเอียดพร้อมราคาได้ที่หมวดปั้มน้ำ ปั้มลมได้เลยครับบอกไว้อย่างละเอียด

.

koiz007

การเอาน้ำกลับเข้าบ่อจากช่องสุดท้ายที่น้ำใสแล้ว ถ้าสามารถเอามาผ่านน้ำตกได้ก็จะสร้างบรรยากาศที่ดีมากๆ ให้กับบ้านและที่ดีกว่านั้นคือเป็นการลดอุณหภูมิน้ำให้เย็นลงได้อีก ปลาชอบน้ำเย็นๆ ครับ คุณภาพน้ำที่มีการไหลผ่านชั้นน้ำตกจะสร้างสิ่งดีๆ ในกับบ่อมากมายอย่างคาดไม่ถึง น่าทำกันนะครับ น้ำตกทำง่ายมาก ช่างทำบ่อปลาหรือนักจัดสวนเกือบทุกคนล้วนถนัดเรื่องนี้กันอยู่เแล้ว

………..

   น้ำที่ผ่านระบบกรองจนจบกระบวนการทุกช่องกรองแล้ว ก็จะค่อยๆ ลดค่าของเสียในน้ำลงเรื่อยๆ ไม่ได้ลงทีเดียวหมดนะครับ ของมันต้องใช้เวลามั่ง แต่สิ่งที่ต้องสนใจในขั้นตอนสุดท้ายนี้ก็คือรอบของน้ำที่ไหลเวียนทั้งระบบครับ

 

ตามสูตรของบ้านเราจากคนที่มีประสพการณ์และรวมถึงตำราต่างประเทศก็จะแนะนำให้จัดการรอบน้ำให้ได้ประมาณ 15-18 รอบต่อวัน ง่ายมากครับ แค่ใช้ปริมาณน้ำที่มีในบ่อทั้งหมดรวมถึงน้ำในช่องกรองมาคำนวน ว่ามีปริมาตรน้ำเท่าไหร่

สมมุติว่าบ่อเราที่รวมช่องกรองแล้วมีขนาด กว้าง 3 เมตร ยาว 5 เมตร ลึก 1 เมตร เอามาคูณกันซะ ก็จะได้ 3 x 5 x 1= 15 ตัน หรือ 15,000 ลิตร เราอยากได้น้ำทั้ง 15 ตันหมุนได้ 15 รอบ ก็เอามาคูณกันซิ 15 x 15 = 225 ตัน หรือ 225,000 ลิตร มหาศาลเลยนะนั่น น้ำขนาดนี้จะต้องหมุนให้ครบภายใน  1 วันหรือ 24 ชั่วโมงนั่นเอง

 

งั้นเราก็ต้องเลือกขนาดปั้มที่มีกำลังวังชาดีๆ หน่อย เวลาเลือกปั้มก็พลิกดูป้ายข้างกล่องว่ามีความสามารถเท่าไหร่ ตัวเลขที่เราต้องดูคือ ลิตร/ชั่วโมง เช่น 5000 L /hr ก็หมายถึง ปั้มนี้มีกำลัง 5000 ลิตรต่อชั่วโมงเป็นต้น คราวนี้เราเอาตัวเลขน้ำในบ่อเราที่มี 225,000 ลิตร เอามาหาร 24 ชั่วโมงเพราะเราจะเอามาหารุ่นปั้มที่เหมาะสมกัน หารแล้วก็จะได้ 9,375 ลิตร/ชั่วโมง

 

คราวนี้เป้าหมายของปั้มที่เราเลือกก็น่าจะอยู่ที่ 10,000 ลิตร/ชั่วโมง หรือตามกล่องก็จะเขียนไว้ว่า 10,000/hr แค่นี้เองไม่ยากเลย ส่วนใหญ่มักจะเลือกให้สูงขึ้นไปอีกนิด ก็จะกลายเป็น 12,000 L/hr  ถ้ารุ่น ATMAN HA 20 ก็เป็นปั้มที่มีกำลังน้ำ 20,000 L/hr สามารถรองรับบ่อขนาด 25-30 ตันได้ลงตัว แถมกินไฟที่ระบุข้างกล่องก็แค่ 50w เอง

 

จากที่เมื่อก่อนต้องเลือกปั้มไดโว่ที่คนทำบ่อมือโปรทั้งหลายชอบเอามาใช้ใส่หัวเจ็ทตัวแสบ ถ้าจะเอาให้ได้น้ำเท่านี้คงต้องโดนไปที่ 400w แน่ๆ แถมปั้มไดโว่ก็จะพังเร็วมากๆ ด้วย เพราะหัวเจ็ทมาอั้นน้ำเอาไว้ เปลืองไฟ เปลืองปั้ม และเปลืองปลาด้วยนะ

Comments are closed.