แล้วมันขัดแย้งกับความจริงที่ว่ายิ่งวัสดุกรองที่มีความละเอียดมากๆ แต่ต้องไม่อุดตันง่ายๆด้วยมันจะมีเหรอ แถมเรื่องล้างทำความสะอาดด้วย อย่าให้ยากขนาดที่เราล้างเองไม่ไหวด้วยนะ

ที่มีให้เลือกทั่วๆ ไปมักจะมีปัญหาเรื่องการล้างทำความสะอาดที่เหนื่อยมากเกินไป แถมยังตันเร็วเกินไปทั้งนั้น หลายบ่อก็เลยเลื่อนวันล้างกรองออกไปตลอดเพราะจัดหาเวลาล้างได้ยากมาก และจะเป็นวันที่เหนื่อยมาก ยุคนี้หายากจริงๆ นะวันแบบนั้น ส่วนใหญ่ก็วันหยุดเทศกาลโน่นเลยปลามันรอเราไม่ได้นะ และยิ่งรักปลามากก็ให้อาหารมากอีก ขี้ปลากระจุกตัวเต็มวัสดุกรองเพียบๆ รอวันที่จะตัน พลาดนิดเดียวถึงเกิดน้ำเสียได้เลยนะนั่น ระวัง ระวัง ย้ำ ระวัง .

ใช่ครับ วัสดุกรองในท้องตลาดนานมาแล้วเราก็เห็นมาไม่กี่อย่าง แต่ละอย่างก็น้ำหนักมากทั้งนั้น บางอย่างก็มีความคมบาดมือบาดแขนกันมาแล้วก็เยอะ ล้างกรองทีไรปวดหลังปวดแขนไปหลายวัน

.

แต่ในที่สุดก็มีมีเดียชนิดใหม่ที่สามารถแก้ปัญหานี้ได้หมด ถูกผลิตออกมาจริงๆ ก็คือ วัสดุกรองรูปแบบเม็ดพลาสติกโปร่งเบาขนาดเล็กที่เคลื่อนที่ได้อิสระในน้ำ มีช่องด้านในโล่งๆ

.

เราเรียกกันในวงการเลี้ยงปลาทั่วโลกว่า moving bed media (มูฟวิ่งเบด มีเดีย)

.

และ www.yourkoishouse.com ก็ได้ออกแบบและทำการผลิตออกมาเป็นสินค้าเพื่อทุก ๆ ท่าน แล้วเช่นกัน ในชื่อว่ารุ่น B3  ครับ

เราตั้งใจที่จะผลิตออกมาเพื่อเพิ่มความสามารถในการกำจัดของเสีย ในระบบน้ำในรูปแบบใหม่โดยเฉพาะ ยืนยันได้ว่าค่าของเสียในน้ำจะลดลงได้มากอย่างเห็นได้ชัดเจน

B1 B2 B3 licene

.

 

Black B media ทั้งสามรุ่น เป็นสินค้าคุณภาพมาตรฐาน

ออกแบบ และผลิตโดย www.yourkoishouse.com

“ได้รับสิทธิบัตรจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์”

1274949928DIP



. เห็นหน้าตากันชัดๆ กันแล้วนะครับว่ามันมีขนาดที่เล็กจริงๆ แต่ภายในกลับมีความโปร่งอย่างดีเยี่ยม เมื่อมันอยู่กันอย่างเบียดเสียดในช่องกรองแล้วจะเหลือช่องให้เศษตะกอนเล็กๆ ผ่านไปได้ยากมาก แต่แน่นอนน้ำกลับผ่านได้อย่างดีเยี่ยม ไม่ตันง่ายๆ แน่นอน   โจทย์ข้อแรกของการเลือกคือ วัสดุกรองนี้ต้องการพื้นที่ผิวมากๆ ในการให้แบคทีเรียมาเกาะอาศัย ซึ่ง moving bed รุ่น B3 ก็จัดให้เต็มๆ ที่ 930 ตารางเมตรต่อลูกบาศ์กเมตร ในรุ่น B3 ซึ่งมากกว่าวัสดุเดิมๆ ที่เราเห็นกันมานานกว่าสิบปีอยู่หลายเท่าตัว ต้อนรับประชาการแบคทีเรียได้มากมายที่สามารถมาเกาะติดผิววัสดุได้ง่ายมากซึ่งทำให้ระบบกรองเดินได้อย่างรวดเร็วทันใจ ไม่ต้องรอนานๆ เหมือนเดิม

.

รูปร่างหน้าตาเจ้าหน้าที่รักษาความสะอาดประจำบ่อกรองขนาดเล็กจิ๋วที่ขยันขันแข็ง

 

โจทย์ข้อต่อไปคือต้องยอมให้น้ำไหลผ่านได้สะดวกมากๆ ด้วยนะ คำตอบของ B3 ข้อนี้ก็เสียงดังเลยทีเดียวว่า มีให้เพียบ!

เพราะตัวชิ้นวัสดุจะมีช่องโปร่งอยู่ข้างในขนาดใหญ่ ที่เป็นทางให้น้ำไหลผ่านได้สบายๆ ไม่ตันง่ายๆ แต่ที่เป็นแนวทางใหม่สุดสำหรับวงการบ่อกรองปลาคาร์ฟ และปลาตู้ด้วยในยุคนี้คือ การทำให้วัสดุกรองหมุนปลิวไปมาอยู่ในช่องกรองนี้อย่างอิสระด้วยแรงลมจากฟองอากาศ

เพื่อหวังผลเรื่องการลดค่าของเสียอย่างรวดเร็ว ซึ่งตรงกันข้ามกับระบบกรองเดิมๆ ที่ผ่านมาใช่ไหมครับ เพราะการที่ทำให้วัสดุกรองมีการเคลื่อนที่ไปทั่วช่องกรองที่มีของเสียปนอยู่เต็มๆ นั้น

ทำให้แบคทีเรียที่เกาะอาศัยอยู่บนตัว moving bed ได้กระจายตัวไปทั่วช่องกรองอย่างทั่วถึง เรียกว่าปูพรมกันเลยก็แล้วกัน ออกตามล่าหาอาหารได้ทั่วจริงๆ

.

แล้วของเสียทั้งหมดจะถูกย่อยสลายได้มากกว่าวิธีการเดิมอยู่มากมาย

อาจมากถึงสามเท่าของระบบปรกติ โดยที่ใช้ช่องกรองขนาดเท่าเดิม

ข้อมูลนี้ต่างประเทศต้นความคิดระบบนี้คิดคำนวนเอาไว้ว่าอย่างงั้น บ่อปลาคาร์ฟรุ่นใหม่ระดับเทพๆ ล้วนใช้ระบบนี้กันทั้งนั้น จะเป็นบ่อ 10 ตัน หรือจะ 300 ตันก็ได้ผลทั้งนั้นครับ .

คุณภาพน้ำจะดีขึ้นมากมายเห็นได้อย่างชัดเจน

.

.

ดูลักษณะการหมุนตัวของ Black B media ที่เวลาเอาไปใช้พยายามทำให้ได้แบบนี้นะครับ

.ถังกรองนอกแบบประดิษฐ์เองก็ใช้ได้ทำ moving bed ด้วย  B3 ได้ดี

.

รูปถังกรองนอกชุดนี้ เป็นของนักเลี้ยงย่านราชพฤกษ์ที่หลงรักปลาคาร์พเข้าอย่างจัง ที่ทุกคนทำเองได้ง่ายๆ 

.

ช่องกรองระบบ Moving bed จะต้องให้ความสำคัญกับปริมาณลมในการให้วัสดุกรองเคลื่อนที่ได้เร็วพอ แต่ไม่ต้องถึงกับแรงสุดๆ เหมือนน้ำเดือดแรงๆนะครับ . แบคทีเรียที่อาศัยเกาะอยู่จะได้มีโอกาสดักจับอาหารได้สะดวกๆ ไม่จับหลุดจับติด ซึ่งถ้าพวกมันได้รับอ๊อกซิเจนตลอดเวลาและได้มากพอแบบนี้พร้อมกับได้รับการหมุนในช่องกรองอย่างทั่วทุกซอกมุมจริงๆ .

 

รับรองได้ว่าภายในระยะเวลาไม่นาน น้ำในบ่อจะใสสวย ไม่ขุ่นเขียวกันเลยจริงๆ ปัญหาน้ำเขียวๆ ก็จะกลายเป็นเรื่องอดีตที่ไม่หวนกลับมาในบ่ออีกเลย แต่ก็ต้องย้ำอีกเรื่อยๆ ว่าต้องขยันล้างช่องกรองทุกๆ ช่องอย่างสม่ำเสมอนะครับ อย่าปล่อยทิ้งไว้นานเกินไปนะครับ .

 

อย่างน้อยๆ ล้างกันเดือนละครั้ง ยกเว้นช่องกรองกายภาพช่องที่ 1 ต้องล้างอย่างน้อยอาทิตย์ละครั้งนะครับ บางคนผมเห็นล้างทุกวันเลย ขยันมากแต่ได้น้ำที่ใสสวยน่าอิจฉา . เมื่อผ่านระบบกรองทั้งสองระบบแล้ว เรามาจบท้ายอีกครั้งด้วยขั้นตอนที่สาม ด้วยการปล่อยให้น้ำได้ไหลผ่านช่องกรองสุดท้ายนี้ด้วยความนิ่มนวล เพื่อให้ตะกอนขนาดเล็กมากๆ ได้มีโอกาสได้ตกตะกอนลงที่นี่ไม่ไหลวนกลับไปที่บ่อเลี้ยงอีก

 

ดังนั้นช่องนี้ถ้าใช้ วัสดุ Black B media ปล่อยให้ลอยน้ำนิ่งๆ ให้เต็มช่อง น้ำใสๆ ก็จะไหลเข้าสู่ช่องสุดท้าย คือช่องปั้มน้ำได้แบบสวยงาม ….. เห็นภาพกันแล้วใช่ไหมครับ ทำได้ง่ายจริงๆ

Comments are closed.